วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2559

อาเซียน

                                                                     อาเซียน
1.อาเซียนคือะไร
ที่มา http://www.thai-aec.com/418
        http://www.thaiall.com/asean/
        http://www.lampangvc.ac.th/lvcasean/page_asean.htm
อาเซียน ได้ก่อตั้งขึ้นโดย ปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยมีผู้ร่วมก่อตั้ง 5 ประเทศคือ
1.ไทย โดย พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศ)
2.สิงคโปร์ โดย นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศ)
3.มาเลเซีย  โดย ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ)
4.ฟิลิปปินส์ โดย นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศ)
5.อินโดนีเซีย โดย นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศ)ต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มเติม คือ  8 ม.ค.2527 บรูไนดารุสซาลาม, 28 ก.ค. 2538  เวียดนาม, 23 ก.ค. 2540 สปป.ลาว และ พม่า, 30 เม.ย. 2542 กัมพูชา ทำให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศคำขวัญอาเซียน คือ หนึ่งวิสัยทัศน์, หนึ่งอัตลักษณ์, หนึ่งประชาคม (One Vision, One Identity, One Community)
 อาเซียน (ASEAN = Association of South East Asia Nations) หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นเมื่อเดือน ก.ค. ปี 2504 โดยประเทศฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และไทย ได้ร่วมมือจัดตั้งสมาคมอาสา หรือ Association of South east Asia เพื่อที่จะร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้ 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงัก เนื่องจากความผันแปรทางการเมืองระหว่างอินโอนีเซียกับมาเลเซีย จนกระทั่งมีการฟื้นฟูสัมพันธภาพ จึงมีการมองสู่ทางที่จะจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมภาคนี้ ดังนั้น สมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 ส.ค. พ.ศ. 2510 โดยมีสมาชิกแรกเริ่ม 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์และประเทศไทย และได้ทำการลงนามปฎิญญากันที่กรุงเทพ ฯ ปัจจุบันอาเซียน มีสมาชิก 10 ประเทศ ซึ่งมีสมาชิกที่เพิ่มขึ้น คือ บรูไน พม่า ลาว เวียดนาม และกัมพูชา
วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง เพื่อความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ โดยประเทศอาเซียนได้ตกลงที่จะลดอากรขาเข้าทางการค้าเป็นพิเศษสำหรับสินค้าในกลุ่มมิอาเซียน มีการทำสัญญาซื้อขายระยะยาวสำหรับสินค้าบางชนิดระหว่างกัน ให้สิทธิพิเศษแก่สินค้าอาเซียนในการจัดซื้อของหน่วยงานและองค์กรของรัฐ ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่การซื้อขายสินค้าอาเซียน ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ เป็นต้น ส่วนสำนักงานของอาเซียน หรือที่เรียกกันว่า สำนักงานเลขาธิการอาเซียน ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการดำเนินงานของกลุ่มอาเซียน ตั้งอยู่ที่ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
ความเป็นมาของอาเซียน
              สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (Association  of  Southeast  Asian  Nations  หรือ  ASEAN)  ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ  (Bangkok  Declaration)  หรือ  ปฏิญญาอาเซียน  (ASEAN  Declaration)  เมื่อวันที่  8  สิงหาคม  2510  โดยมีประเทศสมาชิก  5  ประเทศ  ประกอบด้วย  อินโดนีเซีย  มาเลเซีย  ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์  และไทย
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเมือง  เศรษฐกิจและสังคม  ของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   ต่อมามีประเทศสมาชิกเพิ่มเติม  ได้แก่  บรูไนดารุส-ซาลาม   เวียดนาม   ลาว   เมียนมาร์  และกัมพูชา  ตามลำดับ   จึงทำให้ปัจจุบันอาเซียน   มีสมาชิก  10  ประเทศ
              ปัจจุบัน  บริบททางการเมือง  เศรษฐกิจ  และสังคม   รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก      ทำให้อาเซียนต้องเผชิญ สิ่งท้าทายใหม่ๆ    อาทิ    โรคระบาด    การก่อการร้าย   ยาเสพติด  การค้ามนุษย์  สิ่งแวดล้อม  ภัยพิบัติ  อีกทั้ง  ยังมีความจำเป็นต้องรวมตัวกันเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถทางการแข่งขันกับประเทศในภูมิภาคใกล้เคียง  และในเวทีระหว่างประเทศ  ผู้นำอาเซียนจึงเห็นพ้องกันว่า  อาเซียนควรจะร่วมมือกันให้เหนียวแน่น  เข้มแข็ง  และมั่นคงยิ่งขึ้น  จึงได้ประกาศ  “ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน  ฉบับที่ 2”  (Declaration  of  ASEAN  Concord  II)  ซึ่งกำหนดให้มีการสร้างประชาคมอาเซียนที่ประกอบไปด้วย  3  เสาหลัก ได้แก่
              -  ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community - APSC) มุ่งให้ประเทศกลุ่มสมาชิกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข แก้ไขปัญหาระหว่างกันโดยสันติวิธี มีเสถียรภาพและความมั่นคงรอบด้าน เพื่อความมั่นคงปลอดภัยของเหล่าประชาชน
              -  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community - AEC) มุ่งเน้นให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน เพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆได้โดย
              -   ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio - Cultural Community - ASCC) มุ่งหวังให้ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี มีความมั่นคงทางสังคม มีการพัฒนาในทุกๆ ด้าน และมีสังคมแบบเอื้ออาร โดยจะมีแผนงานสร้างความร่วมมือ 6 ด้าน คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน การลดช่องว่างทางการพัฒนา
              ซึ่งต่อมาผู้นำอาเซียนได้ตกลงให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้แล้วเสร็จเร็วขึ้นมาเป็นภายในปี 2558
ประชาคมอาเซียน คือ
              ประชาคมอาเซียน  (ASEAN  Community)  คือ  การรวมตัวของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นชุมชนที่มีความแข็งแกร่ง  สามารถสร้างโอกาสและรับมือส่งท้าท้าย  ทั้งด้านการเมืองความมั่นคง  เศรษฐกิจ  และภัยคุกคามรูปแบบใหม่  โดยสมาชิกในชุมชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี  สามารถประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น  และสมาชิก  ในชุมชนมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

2.อาเซียนมีกี่ประเทศมีประเทศอะไรบ้าง
AEC เป็นการพัฒนามาจากการเป็น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian Nations : ASEAN) ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีประเทศผู้ก่อตั้งแรกเริ่ม 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาในปี 2527 บรูไน ก็ได้เข้าเป็นสมาชิก ตามด้วย 2538 เวียดนาม ก็เข้าร่วมเป็นสมาชิก ต่อมา 2540 ลาวและพม่า เข้าร่วม และปี 2542 กัมพูชา ก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ทำให้ปัจจุบันอาเซียนเป็นกลุ่มเศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ มีประชากร รวมกันเกือบ 500 ล้านคน

จากนั้นในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่  9 ที่อินโดนีเซีย เมื่อ 7 ต.ค.  2546  ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้ตกลงกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ่งประกอบด้วย3 เสาหลัก คือ

1.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community:AEC)
2.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Socio-Cultural Pillar)
3.ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (Political and Security Pillar)

คำขวัญของอาเซียน คือ “ One Vision, One Identity, One Community.” หนึ่งวิสัยทัศน์   หนึ่งอัตลักษณ์   หนึ่งประชาคม

เดิมกำหนดเป้าหมายที่จะตั้งขึ้นในปี 2563 แต่ต่อมาได้ตกลงกันเลื่อนกำหนดให้เร็วขึ้นเป็นปี 2558 และก้าวสำคัญต่อมาคือการจัดทำปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Charter) ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2552 นับเป็นการยกระดับความร่วมมือของอาเซียนเข้าสู่มิติใหม่ในการสร้างประชาคม โดยมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งทางกฎหมายและมีองค์กรรองรับการดำเนินการเข้าสู่เป้าหมายดังกล่าวภายในปี 2558

ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียน รวม 10 ประเทศได้แก่  ไทย พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา บรูไน

สำหรับเสาหลักการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC )ภายในปี 2558 เพื่อให้อาเซียนมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ อย่างเสรี และเงินทุนที่เสรีขึ้นต่อมาในปี 2550 อาเซียนได้จัดทำพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) เป็นแผนบูรณาการงานด้านเศรษฐกิจให้เห็นภาพรวมในการมุ่งไปสู่ AEC ซึ่งประกอบด้วยแผนงานเศรษฐกิจในด้าน ต่าง ๆ พร้อมกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการดำเนินมาตรการต่าง ๆ จนบรรลุเป้าหมายในปี 2558 รวมทั้งการให้ความยืดหยุ่นตามที่ประเทศสมาชิกได้ตกลงกันล่วงหน้า

ในอนาคต AEC จะเป็นอาเซียน+3 โดยจะเพิ่มประเทศ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เข้ามาอยู่ด้วย และต่อไปก็จะมีการเจรจา อาเซียน+6 จะมีประเทศ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ อินเดียต่อไป



อาเซียน (ASEAN) ประกอบด้วย 10 ประเทศ ได้แก่ 

1. ไทย (2510) 
2. สิงคโปร์ (2510) 
3. อินโดเนเซีย (2510) 
4. มาเลเซีย (2510) 
5. ฟิลิปปินส์ (2510) 
6. บรูไน (2527)
7. เวียตนาม (2538) 
8. ลาว (2540) 
9. พม่า (2540)  
10. กัพูชา (2542)

1. ข้อมูล ประเทศบรูไน (ฺBRUNEI)

ธงชาติประเทศบรูไน
เมืองหลวง บรูไน : บันดาร์เซอรีเบอกาวัน (Bandar Seri Begawan)
ศาสนา : อิสลาม 67%, พุทธนิกายมหายาน 13%, ศาสนาคริสต์ 10%
วันชาติ บรูไน : วันชาติของบรูไน คือวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์
การเมืองการปกครอง บรูไน : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สุลต่านทรงเป็นอธิปัตย์ คือเป็นทั้งประมุข นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นชาวบรูไนเชื้อสายมาเลย์โดยกำเนิด และจะต้องเป็นมุสลิมนิกายสุหนี่ นอกจากนี้ บรูไนไม่มีสภาที่ได้รับเลือกจากประชาชน
พื้นที่ :  5,769 ตร.กม. ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือบนเกาะบอร์เนียว ในทะเลจีนใต้
ประชากร : มีจำนวนประชากรประมาณ 401,890 คน (น้อยที่สุดในอาเซียน) ส่วนใหญ่เป็นเชื้อชาติ มลายู รองลงมาคือ จีน และชนพื้นเมืองต่าง
ภาษา : ภาษามาเลย์เป็น ภาษาราชการ และใช้ภาษาอังกฤษกันทั่วไปทั้งในราชการ การค้า ภาษาจีนใช้กันในกลุ่มคนจีน
อาหารประจำชาติ บรูไน : อัมบูยัต เป็นอาหารยอดนิยมของบรูไน
สัตว์ประจำชาติ บรูไน : เสือโคร่ง
สกุลเงิน บรูไน : ดอลล่าร์บรูไน ดารุสซาลาม
วันที่เข้าร่วมอาเซียน :  7 มกราคม 198
4

2. ข้อมูล ประเทศกัมพูชา (ฺCAMBODIA)

ธงชาติประเทศกัมพูชา
เมืองหลวง กัมพูชา : กรุงพนมเปญ
ศาสนา : พุทธร้อยละ 95, อิสลามร้อยละ 3, คริสต์ร้อยละ 1.7, พราหมณ์-ฮินดูร้อยละ 0.3
วันชาติ กัมพูชา : 9 พฤศจิกายน
การเมืองการปกครอง กัมพูชา : ประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
พื้นที่ :  180,000 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรอินโดจีน
ประชากร : มีจำนวนประมาณ 14.7 ล้านคน ชาวเขมรร้อยละ 90 ชาวญวนร้อยละ 5 ชาวจีนร้อยละ 1 และอื่นๆ ร้อยละ 4
ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน
อาหารประจำชาติ กัมพูชา : อาม็อก (Amok) อาหารยอดนิยมของกัมพูชา มีลักษณะคล้ายห่อหมกของไทย
สัตว์ประจำชาติ กัมพูชา : กูปรี หรือโคไพร เป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศกัมพูชา
สกุลเงิน กัมพูชา : เรียล (Riel) เป็นสกุลเงินของประเทศกัมพูชา
วันที่เข้าร่วมอาเซียน :  เข้าเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อวันที่ 30 เมษายน 1999

3. ข้อมูล ประเทศอินโดนีเซีย (ฺINDONESIA)

ธงชาติประเทศอินโดนีเซีย
เมืองหลวง อินโดนีเซีย : จาการ์ตา (Jakarta) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
ศาสนา : อิสลามร้อยละ 88 คริสต์ร้อยละ 8 ฮินดูร้อยละ 2 พุทธร้อยละ 1 และศาสนาอื่นๆร้อยละ 1
วันชาติ อินโดนีเซีย : วันที่ 17 สิงหาคม
การเมืองการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร
พื้นที่ :  1,904,433 ตารางกิโลเมตร (หรือ 10 เท่า ของไทย)
ประชากร : มีจำนวนประชากร 241 ล้านคน ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม
ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
อาหารประจำชาติ อินโดนีเซีย : กาโด กาโด (Gado Gado) ประกอบไปด้วยผักและธัญพืช 
สัตว์ประจำชาติ อินโดนีเซีย : มังกรโคโมโด
สกุลเงิน อินโดนีเซีย : รูเปียห์ (Rupiah) 
วันที่เข้าร่วมอาเซียน :  8 สิงหาคม 1967 เป็น 1 ใน 5 ประเทศในการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

4. ข้อมูล ประเทศลาว (ฺLAOS)

ธงชาติประเทศลาว
เมืองหลวง ลาว : เวียงจันทร์
ศาสนา : ศาสนาพุทธ(เถรวาท) คริสต์ อิสลาม นับถือผี
วันชาติ ลาว : วันที่ 2 ธันวาคม
การเมืองการปกครอง ลาว : สาธารณรัฐสังคมนิยม พรรคการเมืองเดียว คือ พรรคปฏิวัติประชาชนลาว 
พื้นที่ : ประมาณ 236,000 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : มีจำนวนประมาณ 6.5 ล้านคน ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%, ลาวเทิง 22%, ลาวสูง 9% รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
อาหารประจำชาติ ลาว : ซุบไก่ (Chicken Soup)
สัตว์ประจำชาติ ลาว : ช้าง ถือเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองที่มีความผูกพันกับชาวลาวเป็นอย่างยิ่ง 
สกุลเงิน ลาว : กีบ (Kip)
วันที่เข้าร่วมอาเซียน :  เข้าร่วมสมาชิกอาเซียนเป็นประเทศที่ 8 วันที่ 23 ก.ค. 1997

5. ข้อมูล ประเทศมาเลเซีย (ฺMALAYSIA)

ธงชาติประเทศมาเลเซีย
เมืองหลวง มาเลเซีย : กัวลาลัมเปอร์ 
ศาสนา : อิสลาม ศาสนาประจำชาติ ร้อยละ 60.4, พุทธ ร้อยละ 19.2, คริสต์ ร้อยละ 11.6, ฮินดู ร้อยละ 6.3 และอื่น ๆ อีกร้อยละ 2.5
วันชาติ มาเลเซีย : 31 สิงหาคม วันชาติมาเลเซีย
การเมืองการปกครอง มาเลเซีย : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา
พื้นที่ :  ประมาณ 329,758 ตารางกิโลเมตร ( ประมาณ 64% ของไทย)
ประชากร : มีจำนวนประมาณ 30,018,242 ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10% 
ภาษา : ภาษามาเลย์ หรือ ภาษามลายู เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
อาหารประจำชาติ มาเลเซีย : นาซิเลอมัก เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมของมาเลเซีย  เป็นข้าวผัดกับกะทิและสมุนไพร, สะเต๊ะ เป็นอาหารที่รู้จักแพร่หลาย  นิยมใช้เนื้อวัว หรือเนื้อไก่ย่างบนเตาถ่าน  รับประทานกับน้ำจิ้มรสชาติหวานหอมเผ็ด และเครื่องเคียง
สัตว์ประจำชาติ มาเลเซีย : เสือโคร่ง
สกุลเงิน มาเลเซีย : ริงกิต (Ringgit) 
วันที่เข้าร่วมอาเซียน :  8 สิงหาคม 1967 เป็น 1 ใน 5 ประเทศในการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

6. ข้อมูล ประเทศเมียนมาร์ หรือพม่า (MYANMAR)

ธงชาติประเทศเมียนมาร์ หรือพม่า
เมืองหลวง เมียนมาร์ : เนปีดอ (Naypyidaw)
ศาสนา : พุทธ 90%, คริสต์ 5%, อิสลาม 3.8%
วันชาติ : วันที่ 4 มกราคม
การเมืองการปกครอง เมียนมาร์ : ระบบเผด็จการทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ
พื้นที่ :  677,000 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : มีจำนวนประมาณ 56,400,000 คน มีชาติพันธุ์พม่า 68%, ไทใหญ่ 9%, กะเหรี่ยง 7%, ยะไข่ 3.50%, จีน 2.50%, มอญ 2%, คะฉิ่น 1.50%, อินเดีย 1.25%, ชิน1%, คะยา 0.75% และอื่นๆ 4.50%
ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
อาหารประจำชาติ เมียนมาร์ : หล่าเพ็ด (Lahpet) เป็นอาหารยอดนิยมของพม่า คือใบชาหมักทานกับเครื่องเคียง
สัตว์ประจำชาติ เมียนมาร์ : เสือ
สกุลเงิน เมียนมาร์ : จ๊าด (Kyat) 
วันที่เข้าร่วมอาเซียน :  วันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ.199
7

7. ข้อมูล ประเทศฟิลิปปินส์ (PHILIPPINES)

ธงชาติประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines)
เมืองหลวง ฟิลิปปินส์ : กรุงมะนิลา
ศาสนา : ร้อยละ 92.5 นับถือศาสนาคริสต์ โดยร้อยละ 83 นับถือนิกายโรมันคาทอลิก และร้อยละ 9 เป็นนิกายโปรเตสแตนต์
วันชาติ ฟิลิปปินส์ : 12 มิถุนายน
การเมืองการปกครอง ฟิลิปปินส์ : ระบอบประชาธิปไตย แบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
พื้นที่ :  300,000 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : มีจำนวนประมาณ 103,000,000 คน
ภาษา : ภาษาฟิลิปีโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ
อาหารประจำชาติ ฟิลิปปินส์ : อโดโบ้ (Adobo) เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยม ของประเทศฟิลิปปินส์ ทำจากหมู หรือไก่ที่ผ่านกรรมวิธีหมักและปรุงรสโดยจะใส่ซีอิ๊วขาว น้ำส้มสายชู กระเทียมสับ ใบกระวาน พริกไทยดำ นำไปทำให้สุกโดยใส่ในเตาอบ หรือทอด และรับประทานกับข้าว
สัตว์ประจำชาติ ฟิลิปปินส์ : กระบือ เป็นสัตว์ประจำชาติฟิลิปปินส์ ในภาษาตากาล็อกเรียกว่า คาราบาว
สกุลเงิน ฟิลิปปินส์ : เปโซ (Peso)
วันที่เข้าร่วมอาเซียน : วันที่ 8 สิงหาคม

8. ข้อมูล ประเทศสิงคโปร์ (SINGAPORE)

ธงชาติประเทศสิงคโปร์
เมืองหลวง สิงคโปร์ : สิงคโปร์ สิงคโปร์เป็นประเทศเดียวที่ไม่มีเมืองหลวง เนื่องจากเป็นเกาะขนาด 710 ตารางกิโลเมตร จึงบริหารประเทศทั้งหมดเป็นรัฐเดียว
ศาสนา : พุทธ 42.5%, อิสลาม 14.9%, คริสต์ 14.5%, ฮินดู 4%, ไม่นับถือศาสนา 25%
วันชาติ : วันที่ 9 สิงหาคม
การเมืองการปกครอง สิงคโปร์ : ปกครองแบบสาธารณรัฐ มีรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล รัฐสภาวาระคราวละ 5
พื้นที่ :  697.1 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : มีจำนวนประมาณ 5,469,700 คน ประกอบด้วยชาวจีน 75%, มาเลย์ 15%, อินเดีย 10%
ภาษา : ภาษาราชการ มี 4 ภาษาด้วยกัน คือ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู ภาษาจีนแมนดาริน และภาษาทมิฬ
อาหารประจำชาติ สิงคโปร์ : ลักซา (Laksa) อาหารยอดนิยมของสิงคโปร์ เป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยำ (ใส่กะทิ) ลักษณะคล้ายข้าวซอยของไทย น้ำแกงเข้มข้นด้วยรสชาติของกะทิ กุ้งแห้ง และพริก โรยหน้าด้วยกุ้งต้ม หอยแครง
สัตว์ประจำชาติ สิงคโปร์ : สิงโต ซึ่งเป็นที่มาของชื่อประเทศ มาจากคำว่า สิงหปุระ (Singapura) เป็นภาษาสันสกฤต
สกุลเงิน สิงคโปร์ : ดอลล่าร์สิงคโปร์ 
วันที่เข้าร่วมอาเซียน : 8 สิงหาคม 1967 เป็น 1 ใน 5 ประเทศในการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

9. ข้อมูล ประเทศเวียดนาม (VIETNAM)

ธงชาติประเทศเวียดนาม
เมืองหลวง เวียดนาม : กรุงฮานอย
ศาสนา : ศาสนาพุทธ นิกายมหายานสูงถึงร้อยละ 70 ของจำนวนประชากร ร้อยละ 15 นับถือศาสนาคริสต์ ที่เหลือนับถือลัทธิขงจื้อ มุสลิม
วันชาติ : วันที่ 2 กันยายน
การเมืองการปกครอง เวียดนาม : ระบอบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว
พื้นที่ :  331,689 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : 89,693,000 คน
ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ
อาหารประจำชาติ เวียดนาม : แหนม หรือ ปอเปี๊ยะเวียดนาม เป็นอาหารยอดนิยมของเวียดนาม หนึ่งในอาหารพื้นเมืองที่โด่งดังที่สุด
ของประเทศแผ่นแป้งทำจากข้าวจ้าว นำมาห่อไส้ ซึ่งอาจเป็นไก่ หมู กุ้ง หรือหมูยอ รวมกับผักที่มีสรรพคุณ
เป็นยานานาชนิด
สัตว์ประจำชาติ เวียดนาม : กระบือ
สกุลเงิน เวียดนาม : ด่ง (Dong) 
วันที่เข้าร่วมอาเซียน : วันที่ 28 มกราคม 1995

10. ข้อมูล ประเทศไทย (THAILAND)

ธงชาติประเทศไทย

เมืองหลวง ไทย: กรุงเทพมหานคร
ศาสนา : พุทธ 93.83%, อิสลาม 4.56%, คริสต์ 0.80%, ฮินดู 0.086%, ลัทธิขงจื๊อ 0.011% และอื่นๆ 0.079% และมีประชากรที่ไม่นับถือศาสนาและไม่ทราบศาสนา 0.27% และ 0.36%
วันชาติ : วันที่ 5 ธันวาคม
การเมืองการปกครอง ไทย: ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
พื้นที่ : 513,115.02 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : 65,124,716 คน
ภาษา : ภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
อาหารประจำชาติ ไทย:  ต้มยำกุ้ง (Tom Yam Goong), ส้มตำ
สัตว์ประจำชาติ ไทย: ช้าง ถือเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองและมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับสถาบันหลักของประเทศ 
สกุลเงิน ไทย : บาท (Baht)
วันที่เข้าร่วมอาเซียน : 8 สิงหาคม 1967 เป็น 1 ใน 5 ประเทศในการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
 ในสภาวะแห่งยุคทุนนิยม ที่เศรษฐกิจเป็นตัวขับเคลื่อนและผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ ก้าวรุดไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ประกอบกับประเทศต่าง ๆ นั้นอยู่รวมกันเป็นสังคมโลก ไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวเดียวดายได้ จึงต้องมีการรวมตัวกันของประเทศในแต่ละภูมิภาคเพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรองและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ร่วมและพัฒนาประเทศในภูมิภาคไปพร้อม ๆ กัน ด้วยเหตุนี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน จึงได้มีข้อตกลงให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)
แต่ก่อนที่เราจะมาดูเนื้อหาสาระของการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนนี้ เราจะมาย้อนดูกันรวมตัวกันของประเทศในอาเซียนว่ามีการรวมตัวกันได้อย่างไร จนมาเป็นอาเซียนในปัจจุบัน   โดยอาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538  ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อ พ.ศ. 2542  ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ

3.อาหารแต่ละประเทศมีอะไรบ้าง
ที่มา  http://hilight.kapook.com/view/73514
         http://www.pakping.com/
         http://www.stou.ac.th/study/sumrit/12-58(500)/page1-12-58(500).html
  เนื่องจากแถบอาเซียนมีทรัพยากรค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ จึงทำให้มีเมนูอาหารที่น่ารับประทาน และมีประโยชน์ต่อสุขภาพให้เลือกมากมาย  ดังนั้นเพื่อไม่ให้พลาดกับอาหารรสเลิศของประเทศต่าง ๆ ทางกระปุกดอทคอมจึงได้รวบรวม อาหารอาเซียน กับ 10 เมนูเด็ดของ 10 ประเทศอาเซียน ที่ห้ามพลาดมากฝากกัน ถ้าพร้อมแล้วเชิญชิม..เอ้ย..เชิญชมกันเลยจ้า


อร่อยล้ำกับเมนูเด็ดของ  10 ประเทศอาเซียน
ต้มยำกุ้ง - ประเทศไทย 

1.ประเทศไทย 

          ต้มยำกุ้ง (Tom Yam Goong)  แค่เอ่ยชื่อก็เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ต้มยำกุ้งเป็นอาหารคาวที่เหมาะสำหรับรับประทานกับข้าวสวยร้อน ๆ กลิ่นหอมของสมุนไพรที่เป็นส่วนประกอบในต้มยำกุ้ง นอกจากจะทำให้รู้สึกสดชื่นแล้ว ยังช่วยกระตุ้นการเจริญอาหารได้เป็นอย่างดี

          และเนื่องจากต้มยำกุ้งเป็นอาหารที่มีรสเปรี้ยว และเผ็ดเป็นหลัก ทำให้รับประทานแล้วไม่เลี่ยน จึงทำให้ต้มยำกุ้งเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมในทั่วทุกภาคของประเทศไทย รวมถึงชาวต่างชาติเองก็ติดอกติดใจในความอร่อยของต้มยำกุ้งเช่นเดียวกัน


อร่อยล้ำกับเมนูเด็ดของ  10 ประเทศอาเซียน 
อาม็อก - ประเทศกัมพูชา

2.ประเทศกัมพูชา

          อาม็อก (Amok) เป็นอาหารคาวยอดนิยมของกัมพูชา มีลักษณะคล้ายห่อหมกของไทย โดยเป็นการนำเนื้อปลาสด ๆ ลวกพริกเครื่องแกง และกะทิ แล้วทำให้สุกโดยการนำไปนึ่ง ซึ่งนอกจากจะใช้เนื้อปลาแล้ว อาจเลือกใช้เนื้อไก่แทนก็ได้ ส่วนสาเหตุที่คนในประเทศกัมพูชานิยมรับประทานปลา เนื่องจากสภาพภูมิประเทศของกัมพูชามีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ ทำให้ปลาเป็นอาหารที่หารับประทานได้ง่ายนั่นเอง


อร่อยล้ำกับเมนูเด็ดของ  10 ประเทศอาเซียน
อัมบูยัต - ประเทศบรูไน

3.ประเทศบรูไน

          อัมบูยัต (Ambuyat) เป็นอาหารยอดนิยมของบรูไน มีลักษณะเด่นอยู่ที่ตัวแป้งจะเหนียวข้นคล้ายข้าวต้ม หรือโจ๊ก โดยมีแป้งสาคูเป็นส่วนผสมหลัก ตัวแป้งอัมบูยัตเอง ไม่มีรสชาติ แต่ความอร่อยจะอยู่ที่การจิ้มกับซอสผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว นอกจากนี้ยังมีเครื่องเคียงอีก 2-3 ชนิด เช่น ผักสด เนื้อห่อใบตองย่าง หรือเนื้อทอด  ทั้งนี้ การรับประทานอัมบูยัตให้ได้รสชาติ ต้องรับประทานตอนร้อน ๆ จึงจะดีที่สุด


อร่อยล้ำกับเมนูเด็ดของ  10 ประเทศอาเซียน
หล่าเพ็ด - ประเทศพม่า

4.ประเทศพม่า

          หล่าเพ็ด (Lahpet) เป็นอาหารยอดนิยมของพม่า โดยการนำใบชาหมักมาทานกับเครื่องเคียง เช่น กระเทียมเจียว ถั่วชนิดต่าง ๆ งาคั่ว กุ้งแห้ง ขิง มะพร้าวคั่ว เรียกได้ว่า มีลักษณะคล้ายคลึงกับเมี่ยงคำของประเทศไทย ซึ่งหล่าเพ็ดนี้ จะเป็นเมนูอาหารที่ขาดไม่ได้ในโอกาสพิเศษหรือเทศกาลสำคัญ ๆ ของประเทศพม่า โดยกล่าวกันว่า หากงานเลี้ยง หรืองานเฉลิมฉลองใด ไม่มีหล่าเพ็ด จะถือว่าการนั้นเป็นงานที่ขาดความสมบูรณ์ไปเลยทีเดียว


อร่อยล้ำกับเมนูเด็ดของ  10 ประเทศอาเซียน
อโดโบ้ - ประเทศฟิลิปปินส์

5.ประเทศฟิลิปปินส์


          อโดโบ้ (Adobo) เป็นอาหารยอดนิยมของประเทศฟิลิปปินส์ ทำจากเนื้อหมู หรือเนื้อไก่ ที่ผ่านการหมัก และปรุงรส โดยจะใส่น้ำส้มสายชู ซีอิ๊วขาว กระเทียมสับ ใบกระวาน พริกไทยดำ นำไปทำให้สุกโดยอบในเตาอบ หรือทอด แล้วนำมารับประทานกับข้าวสวยร้อน ๆ

          ในอดีตอาหารจานนี้เป็นที่นิยมในหมู่นักเดินทาง เนื่องจากส่วนผสมของอโดโบ้สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน เหมาะสำหรับพกไว้เป็นเสบียงอาหารระหว่างการเดินทาง ซึ่งปัจจุบันอโดโบ้ได้กลายเป็นอาหารยอดนิยมที่นำมารับประทานกันได้ทุกที่ทุกเวลา


อร่อยล้ำกับเมนูเด็ดของ  10 ประเทศอาเซียน
ลักซา - ประเทศสิงคโปร์

6.ประเทศสิงคโปร์

          ลักซา (Laksa) อาหารขึ้นชื่อของประเทศสิงคโปร์ ลักซามีลักษณะคล้ายก๋วยเตี๋ยวต้มยำใส่กะทิ ทำให้รสชาติเข้มข้น คล้ายคลึงกับข้าวซอยของไทย โดยลักซาจะมีส่วนผสมของ กุ้งแห้ง พริก กุ้งต้ม และหอยแครง เหมาะสำหรับคนที่ชอบรับประทานอาหารทะเลเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ลักซามีทั้งแบบที่ใส่กะทิ และไม่ใส่กะทิ ทว่า แบบที่ใส่กะทิจะเป็นที่นิยมมากกว่า

อร่อยล้ำกับเมนูเด็ดของ  10 ประเทศอาเซียน
กาโด กาโด - ประเทศอินโดนิเซีย

7.ประเทศอินโดนีเซีย

          กาโด กาโด (Gado Gado) อาหารยอดนิยมของประเทศอินโดนีเซีย ประกอบไปด้วยผัก และธัญพืชหลากหลายชนิด  ทั้งแครอท มันฝรั่ง กะหล่ำปลี ถั่วงอก ถั่วเขียว นอกจากนี้ยังมีเต้าหู้ และไข่ต้มสุกด้วย กาโด กาโดจะนำมารับประทานกับซอสถั่วที่คล้ายกับซอสสะเต๊ะ อย่างไรก็ตาม ด้วยเครื่องสมุนไพรในซอส อาทิ รากผักชี หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ ทำให้เมื่อรับประทานแล้วจะไม่รู้สึกเลี่ยนกะทิมากจนเกินไปนั่นเอง


อร่อยล้ำกับเมนูเด็ดของ  10 ประเทศอาเซียน
สลัดหลวงพระบาง - ประเทศลาว

8. ประเทศลาว 

          สลัดหลวงพระบาง (Luang Prabang Salad) เป็นอาหารขึ้นชื่ออีกชนิดหนึ่ง เนื่องจากมีรสชาติกลาง ๆ ทำให้รับประทานได้ทั้งชาวตะวันออก และตะวันตก โดยส่วนประกอบสำคัญคือ ผักน้ำ ซึ่งเป็นผักป่าที่ขึ้นตามริมธารน้ำไหล และยังมีส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น  มันแกว แตงกวา มะเขือเทศ ไข่ต้ม ผักกาดหอม และหมูสับลวกสุก ส่วนวิธีปรุงรสคือ ราดด้วยน้ำสลัดชนิดใส คลุกส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน แล้วโรยหน้าด้วยกระเทียมเจียว และถั่วลิสงคั่ว


อร่อยล้ำกับเมนูเด็ดของ  10 ประเทศอาเซียน
นาซิ เลอมัก - ประเทศมาเลเซีย

9.ประเทศมาเลเซีย

          นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak) อาหารยอดนิยมของประเทศมาเลเซีย โดยนาซิ เลอมัก จะเป็นข้าวหุงกับกะทิ และใบเตย ทานพร้อมเครื่องเคียง 4 อย่าง ได้แก่ ปลากะตักทอดกรอบ แตงกวาหั่น  ไข่ต้มสุก และถั่วอบ ซึ่งนาซิ เลอมักแบบดั้งเดิมจะห่อด้วยใบตอง และมักทานเป็นอาหารเช้า แต่ในปัจจุบัน กลายเป็นอาหารยอดนิยมที่ทานได้ทุกมื้อ และแพร่หลายในประเทศเพื่อนบ้านอีกหลายแห่ง เช่น สิงคโปร์ และภาคใต้ของไทยด้วย


อร่อยล้ำกับเมนูเด็ดของ  10 ประเทศอาเซียน
ปอเปี้ยะเวียดนาม - ประเทศเวียดนาม



10.ประเทศเวียดนาม 
          เปาะเปี๊ยะเวียดนาม  (Vietnamese Spring Rolls) ถือเป็นหนึ่งในอาหารพื้นเมืองที่โด่งดังที่สุดของประเทศเวียดนาม ความอร่อยของเปาะเปี๊ยะเวียดนาม อยู่ที่การนำแผ่นแป้งซึ่งทำจากข้าวจ้าวมาห่อไส้ ซึ่งอาจจะเป็นไก่ หมู กุ้ง หรือหมูยอ โดยนำมารวมกับผักสมุนไพรอีกหลายชนิด เช่น สะระแหน่ ผักกาดหอม และนำมารับประทานคู่กับน้ำจิ้มหวาน โดยจะมีถั่วคั่ว แครอทซอย ไชเท้าซอย ให้เติมตามใจชอบ และบางครั้งอาจมีเครื่องเคียงอย่างอื่นเพิ่มด้วย  


การรวมกลุ่มสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือประชาคมอาเซียนนอกจากจะเป็นการขยสมาคทางเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มคามเข้มแข็งให้กับทุกประเทศแล้ว ยังถือว่าเป็นโอกาสอันนี้ที่จะได้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศกัน ดังนั้นเรื่องอาหารการกินจึงเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เพราะทุกประเทศต่างอยากที่จะได้ลิ้มลองของเลื่องชื่อของประเทศภายในกลุ่มสมาชิก ในวันนี้เราจึงได้รวบรวมเอาอาหารประจำชาติขประเทศมาฝากเพื่อน เผื่อเพื่อนๆคนไหนได้ไปเที่ยวจะได้หากินของเลื่องชื่อได้ถูก เรามาเริ่มต้นกันเลย 
 อีกไม่กี่เดือนแล้วที่จะมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community) หรือ AEC โดยมีกำหนดการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในวันที่
31 ธันวาคม 2558 นอกจากจะเป็นการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เพิ่มความเข้มแข็งให้ 10 ประเทศในอาเซียนแล้วยังเป็นโอกาสที่จะได้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่าง
ประเทศอีกด้วย รวมถึงอาหารที่จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเพราะแต่ละประเทศต่างอยากลิ้มลองอาหารประจำชาติของเพื่อนสมาชิกอาเซียนด้วยกัน เริ่มกันที่ ประเทศไทย

4.อาเซียน +3 คืออะไร

ASEAN +3


    อาเซียน+3 คือกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นสมาชิกในอาเซียน 10 ประเทศ  และประเทศเพิ่มมา 3 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ 

        เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออก ด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงิน  ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศโลก  ด้านสังคมและวัฒนธรรม

อาเซียน +3

กรอบความร่วมมืออาเซียน+3 (ASEAN+3) เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศนอกกลุ่ม 3 ประเทศ คือ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งชุมชนเอเชียตะวันออก (East Asian Community) โดยให้อาเซียนและกระบวนการต่างๆ ภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียน+3 เป็นกลไกสำคัญในการผลักดันให้บรรลุเป้าหมาย เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีของการจัดตั้งกรอบความร่วมมืออาเซียนบวกสามเมื่อปี 2007 (พ.ศ.2550)

ผู้นำของประเทศสมาชิกได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือเอเชียตะวันออกฉบับที่ 2 (Second Joint Statement on East Asia Cooperation: Building on the Foundations of ASEAN Plus Three Cooperation) พร้อมกับเห็นชอบให้มีการจัดทำแผนดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน (ASEAN+3 Cooperation Work Plan (2007 – 2017)) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระยะยาว และผลักดันให้เกิดชุมชนอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี 2015 (พ.ศ.2558) โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมความร่วมมือใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงิน ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศโลก และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านสังคม วัฒนธรรม และการพัฒนา และด้านการส่งเสริมกรอบการดำเนินงานในด้านต่างๆและกลไกต่างๆ ในการติดตามผล โดยแผนความร่วมมือดังกล่าวทั้ง 5 ด้านนี้ ถือเป็นการประสานความร่วมมือและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนกับประเทศในเอเชียตะวันออกมากยิ่งขึ้น

อาเซียน +3 ประกอบด้วยสมาชิก 13 ชาติ คือ 10 ชาติสมาชิกอาเซียน รวมกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งมีประชากรรวมทั้งสิ้นกว่า 2,000 ล้านคน หรือหนึ่งในสามของประชากรโลก แต่เมื่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เข้าด้วยกัน จะทำให้มีมูลค่าถึง 9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 16 ของจีดีพีโลก ขณะที่ยอดเงินสำรองต่างประเทศรวมกันจะสูงถึง 3.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐซึ่งมากกว่ากึ่งหนึ่งของเงินสำรองต่างประเทศของโลก โดยตัวเลขทางเศรษฐกิจเหล่านี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าอาเซียน+3 จะมีบทบาทเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความก้าวหน้าต่อไปในอนาคต

จากความร่วมมือดังกล่าวประเทศสมาชิกอาเซียน จะได้รับผลประโยชน์จากความร่วมมือในกรอบของเขตการค้าเสรีอาเซียนบวก+3 (FTA Asian +3) มูลค่าประมาณ 62,186 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และประเทศไทยในฐานะสมาชิกอาเซียนจะได้รับประโยชน์มากที่สุด คิดเป็นมูลค่าประมาณ 7,943 ล้านดอลลาร์ ขณะที่อินโดนีเซียมีแนวโน้มจะได้ประโยชน์ใกล้เคียงกัน คือประมาณ 7,884 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนเวียดนามคาดว่าจะได้รับประโยชน์มูลค่าประมาณ 5,293 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับการประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียน + 3 สมัยพิเศษ (Special ASEAN+3 Financial Ministers Meeting) ที่ จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ผ่านมา ได้มีการสนับสนุนการใช้เวทีหารือด้านนโยบายและกิจกรรมความร่วมมือต่างๆ ของภูมิภาคอาเซียน อาทิ ข้อริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative: CMI) พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐมนตรีคลังสนับสนุนให้มีกระบวนการเฝ้าระวัง โดยร่วมมือกับสถาบันการเงินในภูมิภาคและสถาบันการเงินระหว่างประเทศ รวมทั้งข้อริเริ่มเชียงใหม่ ที่รัฐมนตรีคลังอาเซียน+3 จำเป็นจะต้องเร่งรัดกระบวนการไป สู่ระดับพหุภาคี เพื่อเป็นกันชนรองรับเศรษฐกิจอ่อนแอในอนาคต

ทั้งนี้ที่ประชุมมีข้อสรุปว่า จะขยายผลความตกลงริเริ่มเชียงใหม่ในการจัดตั้งกองทุนสำรองระหว่างประเทศร่วมกันในภูมิภาคอาเซียน (Currency Swap) จากเดิม 80,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 120,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 4.2 ล้านล้านบาท เบื้องต้นคาดว่า 3 ประเทศนอกกลุ่มอาเซียน คือจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น จะลงเงินสำรองร้อยละ 80 ของวงเงิน รวม หรือ 9.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และกลุ่มประเทศอาเซียนอีกร้อยละ 20 หรือ 2.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งกองทุนดังกล่าวจะมีรูปแบบคล้ายกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund :IMF) แต่ก็ไม่ใช่คู่แข่งของ IMF แต่จะเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งของเอเชียที่จะมีกองทุนระหว่างประเทศเป็นของตนเอง โดยประเทศจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ลงเงินรวมกันประมาณร้อยละ 80 ส่วนอีกร้อยละ 20 ที่เหลือกลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ จะลงทุนร่วมกัน ขณะที่ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย จะต้องใส่เงินลงทุนมากกว่าอีก 5 ประเทศ คือ บรูไน พม่า ลาว เวียดนาม และกัมพูชา เนื่องจากมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่กว่า โดยคาดว่าจะสามารถเสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณารัฐมนตรีคลังอาเซียน+3 วาระปกติที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในเดือนพฤษภาคม 2552 
ความเป็นมาของอาเซียน+3

          สำหรับ "อาเซียน+3" (Asean+3 Summit) หรือ อาเซียนพลัสทรี เป็นศัพท์ที่ใช้เรียกการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งสิบประเทศ รวมกับอีก 3 ประเทศนอกอาเซียน ได้แก่ ประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น และประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งทั้งสามประเทศนี้อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก และนับเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในระดับโลกเลยทีเดียว

          ทั้งนี้ "อาเซียน+3" ยกระดับความร่วมมือขึ้นในปี พ.ศ. 2540 หลังจากหลายประเทศในเอเชียเผชิญกับวิกฤตทางเศรษฐกิจ หรือที่เรียกว่า "ต้มยำกุ้งดีซีส" ในช่วงกลางปี ครั้งนั้น ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้เข้าร่วมพบปะหารือกับผู้นำของประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่ประเทศมาเลเซีย เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และหาแนวทางรับมือกับภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น รวมถึงการกระชับความสัมพันธ์กับประเทศในเอเชียตะวันออก

5.ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน 
ที่มา http://aec.kapook.com/view49579.html
       http://www.thai-aec.com/
         http://www.lampangvc.ac.th/lvcasean/page_asean.htm
    เราในฐานะประชาชนชาวไทย ก็รับรู้ถึงความร่วมมือร่วมใจที่เตรียมตัวในการพัฒนาประเทศของเราเพื่อจับมือร่วมกับ 10  ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้สมาชิกทั้ง 10 ประเทศสามารถอยู่รวมกันได้อย่างเข็มแข็ง และมีมิตรภาพ พร้อมจูงมือกันก้าวสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน… ในวันนี้กระปุกดอทคอมก็ขอนำข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียน และประชาคมอาเซียน มาให้ได้ทราบกันว่า การรวมตัวกันของ 10 ประเทศอาเซียน จะนำพาเราไปสู่การพัฒนาอะไรบ้าง และต้นกำเนิดของอาเซียนมีประวัติความเป็นมาอย่างไร

 ประวัติการก่อตั้งอาเซียน

           อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ  ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และ ไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วย
อาเซียน (ASEAN) เป็นการรวมตัวกันของ  10  ประเทศ   ในทวีปเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้  ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฎิญญาว่าด้วย  ความร่วมมืออาเซียนเห็นชอบ ให้จัดตั้ง  ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)    คือ   เป็นองค์กรระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย   มาเลเซีย และฟิลิปปินส์   ได้ร่วมกันจัดตั้ง   สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504   เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ  สังคมและวัฒนธรรม  แต่  
ดำเนินการ ไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง  เนื่องจากความผกผันทางการเมือง 
ระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูต
ระหว่างสองประเทศ 
          จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง และสำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) ในปีนั้นเองจะมีการเปิดกว้างให้ประชาชนในแต่ละประเทศสามารถเข้าไปทำงานในประเทศ  อื่น ๆ ในประชาคมอาเซียนได้อย่างเสรี   เสมือนดังเป็นประเทศเดียวกัน 
         ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการประกอบอาชีพและการมีงานทำของคนไทย ควรทำความ
เข้าใจในเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน

6. เพลงอาเซียน

             นับถอยหลังอีกเพียงแค่ 2 ปีเศษ ประเทศไทยก็จะก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อย่างเต็มตัวแล้ว และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม วันนี้กระปุกดอทคอมก็ขอนำเสนอเกร็ดความรู้เกี่ยวกับเพลงประจำชาติอาเซียน หรือ "The ASEAN Way" มาให้เพื่อน ๆ ทำความรู้จักและฝึกซ้อมร้องกันไปพลาง ๆ ก่อนค่า

          แต่เอ...หลายคนคงอดสงสัยไม่ได้เลยว่าเพลงประจำชาติอาเซียนมีความสำคัญอย่างไร และทำไมต้องมีด้วย? ทั้งนี้ ต้องขอบอกเลยว่า การมีเพลงประจำชาติอาเซียน ถือว่ามีความสำคัญต่ออาเซียนเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากจะเป็นการสนับสนุนการเสริมสร้างอัตลักษณ์ในการเชื่อมโยงอาเซียนเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งเปรียบเสมือนกับตัวแทนความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาคมอาเซียนนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น